ชื่อโครงการ
การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมชุมชนเชิงบูรณาการผ่านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเลยคำสำคัญ
ทุนทางวัฒนธรรมชุมชน,สินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรม,เศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม,การกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน,การหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจในชุมชนบทคัดย่อ
โครงการวิจัยการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมชุมชนเชิงบูรณาการผ่านกลไกการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเลย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ระหว่างวิสาหกิจชุมชนเชิงวัฒนธรรมและหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ โดยเน้นคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อพัฒนาพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้เกิดการทำงานบูรณาการร่วมกันโดยผ่านกลไกความร่วมมือของวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจทางวัฒนธรรม แปลงทุนทางวัฒนธรรมสู่สินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน โดยดำเนินงานวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังสะพุง และอำเภอปากชม จังหวัดเลย การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 6 ส่วนหลัก ประกอบด้วย (1) การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้สร้างนวัตกรรมจากทุนทางวัฒนธรรมแก่วิสาหกิจชุมชน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมเชิงพื้นที่จัดทำแผนที่ทุนทางวัฒนธรรม นำไปสู่แปลงทุนทางวัฒนธรรมสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน (2) การพัฒนาสินค้าและบริการของวิสาหกิจชุมชนให้เป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่มีมูลค่าสูงขึ้น (3) การพัฒนารูปแบบทางธุรกิจของวิสาหกิจทางวัฒนธรรมในชุมชน ได้แก่ การจัดประชุมระดมความคิดเห็น การถอดบทเรียนและการจัดการความรู้ การจัดอบรมและเพิ่มทักษะแก่วิสาหกิจชุมชนทางวัฒนธรรม (4) การบูรณาการการทำงานเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงเครือข่ายเชิงพาณิชย์จัดตลาดวัฒนธรรมชุมชน โดยเฉพาะการสร้างพื้นที่เศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่และตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบปฏิบัติการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการทางวัฒนธรรม (5) การวิเคราะห์ผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์ของการพัฒนาการทุนทางวัฒนธรรม และ (6) จัดทำแผนบูรณาการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมชุมชนเชิงบูรณาการผ่านกลไกการพัฒนาวิสาหกิจวัฒนธรรมในชุมชน ผลจากการดำเนินงานโครงการวิจัย พบว่า (1) วิสาหกิจชุมชนทางวัฒนธรรมได้พัฒนากรอบความคิดให้เกิดการเติบโต ปรับเปลี่ยนมุมมองการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ (2) กระบวนการแปลงทุนทางวัฒนธรรมสู่สินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรม มีตัวแบบการพัฒนา ได้แก่ การเชื่อมโยงทุนทางวัฒนธรรมสู่สินค้าและบริการ การออกแบบร่วม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม (3) แบบจำลองแผนภูมิธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนทางวัฒนธรรรม สร้างสภาพแวดล้อมใหม่ทางธุรกิจ ตอบสนองผู้บริโภคแบบกลุ่มเฉพาะชัดเจน เป็นการตลาดนำการผลิต (4) การเชื่อมโยงเครือข่ายเชิงพาณิชย์ของวิสาหกิจชุมชนทางวัฒนธรรม เปิดพื้นที่ให้มีตลาดวัฒนธรรมเป็นพื้นที่ส่วนกลางเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ในรูปแบบของตลาดเชิงพื้นที่และตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมให้เกิดการจำหน่ายสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมชุมชนตลอดปี (5) ผลตอบแทนทุนของภาครัฐ (Public Return On Investment: ROI) จากกิจกรรมตลาดวัฒนธรรมชุมชนอำเภอวังสะพุงและอำเภอปากชม โดยเฉลี่ย 5.98 บาท สำหรับห่วงโซ่อุปทานของวิสาหกิจชุมชนทางวัฒนธรรมของต้นทุนการผลิต พบว่าสูงขึ้นทุกผลิตภัณฑ์ และ (6) การจัดทำแผนบูรณาการ ทำให้สมาชิกวิสาหกิจชุมชนทางวัฒนธรรมเกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และการวางแผนเพื่อกำหนดทิศทางการประกอบกิจการของวิสาหกิจชุมชนร่วมกัน สอดคล้องกับศักยภาพทางการผลิต การตลาดและกลุ่มเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ
Title
The Development of Local Economy through Cultural Community Capital to Strengthen Community Enterprises in Loei ProvinceKeywords
Community Cultural Capital,Cultural products and Services,Cultural base Economy,Community Economic Activation,Circulation of Community EconomyAbstract
Research topics for development of grassroots economies continued from scholarships, sometimes through academic communities. If anyone wants these communities at all and space-based institutions with a special emphasis on people for develop cultural spaces to achieve integrated work through cooperation mechanisms of community enterprises. To create and develop entrepreneurs and cultural enterprises Transform cultural capital into cultural goods and services. To increase the potential and develop the foundation economy in the community. by conducting mixed research It consists of survey research. qualitative research and quantitative research in the area of 2 districts, namely Wang Saphung District and Pak Chom District, Loei Province Operations are divided into 6 main parts, consisting of (1) development of knowledge management processes to create innovation from cultural capital for community enterprises. To collect spatial cultural capital data to create a cultural capital map. Leading to the conversion of cultural capital into product development of community enterprises (2) development of products and services of community enterprises into cultural products with higher value. (3) Business model development of cultural enterprises in the community, namely, brainstorming meetings. Lesson learned and knowledge management training and skill enhancement for cultural community enterprises; especially the creation of local economic areas and e-commerce markets It is a product distribution operating system. cultural goods and services. (5) Economic impact analysis of cultural capital development, and (6) Prepare an integrated plan to develop the local economic area of the community from the integrated community cultural capital through the mechanism for developing cultural enterprises in the community. From the implementation of the research project, it was found that (1) cultural community enterprises have developed a conceptual framework for growth. Change the perspective of being a professional entrepreneur. (2) The process of converting cultural capital into cultural products and services. There is a development model, namely linking cultural capital to goods and services. joint design and product development into cultural goods and services. (3) Business Chart Model of Cultural Community Enterprises Create a new business environment Responding to a specific group of consumers clearly It is marketing led to production. (4) Linking commercial networks of cultural community enterprises. Open the area to have a cultural market as a common area linking economic activities. society and culture in the form of a geospatial market and an e-commerce market Promote the distribution of community cultural products and services throughout the year. (5) The public return on investment (ROI) from the community cultural market activities of Wang Saphung District and Pak Chom District, on average, 5.98 baht for the supply chain of cultural community enterprises of production costs. It was found to be higher for all products and (6) the preparation of an integrated plan. make cultural community enterprise members work together as a group development of learning skills and planning to determine the direction of business operations of community enterprises together consistent with production potential Marketing and Business Alliance Network