ชื่อโครงการ
โครงการยกระดับอาชีพเกษตรกรเพื่อเพิ่มรายได้ด้วยเทคโนโลยีเกษตรกรรม การสกัดสาร และการแปรรูป จังหวัดหนองคายคำสำคัญ
หนองคายโมเดลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของเกษตรกร โดยการวิจัยของแผนงานย่อยที่ 1 และ 2 ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ศึกษาต้นทุน ผลตอบแทน และประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกรของแผนงานที่ 1 ผลพบว่า ส่วนใหญ่เกษตรกรมีประสบการณ์ในการทำเกษตรช่วงอายุ 11-30 ปี ร้อยละ 44.67 มีการยอมรับเทคโนโลยีค่อนข้างสูงร้อยละ 61 ต้นทุนส่วนใหญ่ของการปลูกข้าว สับปะรด และดาวเรืองใช้กับค่าวัสดุการเกษตร ค่าแรงงานคน และหน่อหรือเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเป็นต้นทุนผันแปร และต้นทุนส่วนใหญ่ของการปลูกผักใช้กับค่าโรงเรือนและค่าเสื่อมของโรงเรือนซึ่งเป็นต้นทุนคงที่ ผลการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของพืชเศรษฐกิจทั้ง 4 ชนิดจากระยะคืนทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายใน และอัตราผลตอบแทนภายในที่แก้ไขบ่งชี้ว่ามีความเหมาะสมต่อการลงทุน เมื่อมีการเปรียบเทียบความมีประสิทธิภาพก่อนและหลังการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ พบว่า ความมีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้นถึงแม้จะไม่มากนัก โดยในส่วนของการทดลองผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำสำเร็จรูป และทดลองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำร่วมกับเกษตรกรของแผนงานย่อยที่ 2 พบว่า เกษตรกรมีความสนใจเลี้ยงปูนาสูงที่สุดร้อยละ 33.85 รองลงมาคือ ปลานิล กบนา กุ้งก้ามกราม และปลาตะเพียน ตามลำดับ จากการทดลองผลิตอาหารต้นทุนต่ำด้วยหญ้าเนเปียร์ทดแทนปลาป่นช่วยลดต้นทุนผันแปรค่าอาหารเลี้ยงปลา ส่วนการทดลองเตรียมบ่อดินสำหรับเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ปลานิล และปลาตะเพียน และการเตรียมกระชังบกและบ่อซีเมนต์สำหรับการเลี้ยงกบนาและปูนา พบว่า กุ้งก้ามกรามจะได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ปลาตะเพียน ปูนา และกบนา ตามลำดับ ส่วนปลานิลให้ผลตอบแทนรายได้น้อยที่สุดเกษตรกรให้คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยในระดับมากต่อการลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์น้ำ งานวิจัยนี้ ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับอาชีพเกษตรกรรมและรายได้ของเกษตรกรจังหวัดหนองคาย โดยการวิจัยและสกัดสารสำคัญในสับปะรดและดอกดาวเรืองของแผนงานย่อยที่ 3 และ 4 ผลจากการสกัดเอนไซม์จากสับปะรดด้วยการตกตะกอนด้วยเอทานอลซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมและง่ายต่อการผลิตเอนไซม์มากที่สุด พบว่า ตะกอนเอนไซม์ที่ได้มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีเหลืองอ่อน เมื่อเปรียบเทียบกิจกรรมของเอนไซม์โบรมิเลนที่สกัดได้จากเนื้อสับปะรดมีค่าสูงถึง 9,479 CDU/g เป็นเทคโนโลยีสะอาดที่สามารถนำไปถ่ายทอดให้กับกลุ่มเกษตรกร ผลการทดสอบความเป็นพิษพบว่า สารสกัดสับปะรด ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสท์ของผิวหนังมนุษย์ มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรียและสามารถเพิ่มความกระจ่างใสให้กับผิวพรรณได้เนื่องจากมีต้านการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส สำหรับการสกัดลูทีนจากดอกดาวเรืองด้วยน้ำ พบว่า ปริมาณลูทีนในสารสกัด 100 กรัม จะมีปริมาณระหว่าง 56-77 มิลลิกรัม วิธีการห่อหุ้มภายใต้สภาวะการผลิตที่ใช้ ไม่ส่งผลต่อคุณภาพของผงสารสกัดที่ได้ ซึ่งผงสารสกัด (0.5 กรัม) ยังคงมีความสามารถในการจับอนุมูลอิสระที่สูง สารสกัดที่ได้มีปริมาณโลหะหนักเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และสารสกัดดอกดาวเรืองสีเหลืองอ่อนและสีเหลืองเข้ม ที่ความเข้มข้น 1.25 – 80 ?g/ml ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ ในส่วนของแผนงานย่อยที่ 4 ได้ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรเป้าหมาย ประกอบด้วย สัตว์น้ำพื้นบ้าน (ปลาเล่ง ปลาตะเพียน ปูนา กบนา และกุ้งก้ามกราม) และพืชพื้นบ้าน (พริก สมุนไพร มะเขือเทศ ดอกดาวเรือง และสับปะรด) สำหรับผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำได้แก่ ปลาตะเพียนทอดกรอบลดเกลือ ผงลาบปลา ป่นปูนา ป่นกุ้ง และอ่อมกบโรยข้าวลดการใช้ปลาร้า โดยทำการพัฒนาสูตรการผลิตจากตำรับท้องถิ่นเป็นสูตรผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ทำการทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์โดยใช้ตัวแทนผู้บริโภคจำนวน 50 คน พบว่า ปลาตะเพียนทอดกรอบที่มีการใช้เกลือร้อยละ 0.8 ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในทุกลักษณะไม่แตกต่างกันกับสูตรควบคุม ในส่วนของผงโรยข้าว การใช้ปลาร้าผงเป็นส่วนผสม ร้อยละ 3 มีค่าคะแนนการยอมรับในเรื่องของสี กลิ่น รสชาติ ความชอบโดยรวม และความยินดีที่จะซื้อสูงกว่าตัวอย่างอื่นๆ (p ? 0.05) ส่วนพริกและสมุนไพรพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพรเมนทอลต้มยำด้วยการหาสัดส่วนของการใช้สารหอมระเหยที่เหมาะสม พบว่า สูตรที่มีค่าการใช้ประโยชน์สูงสุด ได้แก่ สูตรที่มีเมนทอล พิมเสน และการะบูน ร้อยละ 10.3 สำหรับการพัฒนามะเขือเทศเชื่อม พบว่า มะเขือเทศเชื่อมสูตรผสมน้ำตาลหลายชนิดร่วมกันให้ค่าคะแนนความชอบในเรื่องของสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมสูงกว่ามะเขือเทศเชื่อมสูตรที่มีการใช้น้ำตาลทรายเพียงชนิดเดียว (p ?0.05) ในการพัฒนาชาดาวเรืองจากการหาสัดส่วนการใช้ชาดาวเรืองสีเหลืองอ่อนและเข้ม พบว่า สัดส่วนการผสมชาดาวเรืองสีอ่อนกับชาดาวเรืองสีเข้มในอัตราส่วน 70:30 ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในลักษณะโดยรวมมากที่สุด (7.58; p < 0.05) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาหมึกอบกรอบจากสับปะรดเปรียบเทียบกับสับปะรดอบกรอบสูตรเดิม พบว่า ปลาหมึกอบกรอบจากสับปะรดมีค่าคะแนนความชอบในเรื่องของสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมสูงกว่าสับปะรดอบกรอบแบบเดิม (p ?0.05) จึงนำสูตรการผลิตทั้งหมดไปทดสอบผลิตจริงร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการชุมชน นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความมั่นคงและเพิ่มโอกาสทางรายได้ โดยการศึกษาความเข้าใจด้านการตลาด วิจัยและออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวมถึงพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสมัยใหม่ พบว่า เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเห็นด้วยกับการพัฒนาสื่อในรูปแบบของคลิปวิดิทัศน์ ร้อยละ 80 จึงได้ทำการสร้างและพัฒนาคลิปวิดิทัศน์ขึ้น ผลจากการสำรวจปัญหาและความต้องการของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ในชุมชนด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้นแบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการชุมชน และจากการเก็บข้อมูลกับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ด้านช่องทางการตลาด พบว่า ชุมชนมีการจำหน่ายสินค้าแบบขายตรงสู่ผู้บริโภค จึงได้ทำการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ผ่านทางเว็บเพจ การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ (Line) และช่องทางการรับรู้ให้กับผู้บริโภคในรูปแบบโลกเสมือนจริง (Metaverse) ผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปออนไลน์ ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้ประกอบการชุมชนที่มีต่อช่องทางการตลาดออนไลน์ พบว่า ผู้ประกอบการชุมชนเห็นว่าช่องทางดังกล่าวสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมการขายในระดับมากที่สุด
Title
Increasing Farmers’ Income through Enhancement of Agricultural Technology, Bio-Compounds Extraction, ProcessingKeywords
Nongkhai modelAbstract
The project is aimed at enhancing people’s livelihood and quality of life as well as improving competitive advantages among new entrepreneurs and community enterprises at an area-based level. The research results in Sub-plan 1 and Sub-plan 2 of the project show the primary data of costs and returns analysis, efficiency of production, as well as analysis based on the technology acceptance model. Sub-plan 1 research results show that 44.67 percent of farmers has 11-30 years experience in argriculural sector and has relatively high technology acceptance rate at 61 percentage. While the cost of rice production, pineapple production, and marigold production are mainly in agriculral materials, workforces, and seeds which are variable costs. While most of the costs in vegetable production are contributed to the vegetable greenhouse and its depreciation which are fixed costs. The analysis of financial ratio in 4 economic crops in Nong Khai indicates suitability for investment. In addition, the comparison analysis shows slightly increased in production efficiency after technology transfer. Sub-plan 2 conducted research on making low-cost feeds for carp and tilapia using Napier grass and research on improving the aquaculture farms breeding and management. The results show that most farmers interested in field crabs farms at 33.85% followed by tilapia, field frogs, freshwater prawns, and carp respectively. The operation on making low-cost feeds helps farmer in reducing the relative costs of feedings while the building low-cost marine nurseries and other activities help in creating returns to farmers. The results showed that raising giant freshwater prawns yielded the highest returns, followed by carp, field crabs, and field frogs respectively, while tilapia gave the lowest ones. In addition, the majority of the farmers were highly satisfied with the reduction of the costs in rearing of aquatic animals. The framework for this project is also focuses on the production of plant extracts in local areas which are pineapple and marigolds. Sup-plan 3 and Sup-plan 4 found that the pineapple-based ethanol extracts were potent and safe to be developed into products which are harmless to human skin bibroblast cells. Thus, pineapple extracts were produced in the forms of crude enzymes used as an ingredient of tenderizer powder which show enzymes activities at 9,479 CDU/g. Their benefits are to prevent bacteria and brighten the skin because they inhibit tyrosinase enzymes. Regarding marigolds, marigold-based lutein extracts were commercially developed, it is found that when the extraction was performed with the clean technology which involved water extraction, 100 grams of marigolds can produce 56-57 milligrams of lutein. The extracts were encapsulated in order to prolong their shelf life. Assessment of extraction efficiency showed that production conditions did not affect the quality of the extracts, and they were able to capture free radicals and heavy metal content according to the law and were harmless to the cells. Sub-plan 4 entailed conducting research and developing products from agricultural produces, including local aquatic animals such as bighead carp, carp, field crabs, field frogs and giant freshwater prawns, as well as local crops such as pineapples, marigolds, tomatoes, chilies and herbs. In particular, four types of rice seasoning products as ready-to-eat food were developed from aquatic lifes, namely fish laab seasoning, field crab powder, prawn powder, and thick frog soup powder of which ingredients uses a small amont of pickled fish powder. The production procedures which were the identity of community entrepreneurs were also used and tasted by 50 consumer population samples, the results reveal that deep-fried carp products that were created with the reduction of salt content were accepted as non difference from the controlled samples. In the of rice seasoning products, the use of 3 percent pickled fish powder is being accepted in overall taste and color which lead to the highest score on willingness to buy (p ? 0.05). In the meantime, Tomyum menthol herbal inhalers, the research result found that the use of 10.3 percent volatile compounds, such as camphor, menthol and borneol, are being accepted in a higher rate than others samples. In addition, the made of candied tomatoes which were developed from a variety of sugar-based sweeteners is being accepted in overall taste, color, odors and texture (p ?0.05). Apart from that, marigold tea that was developed with a mixture of dark and light marigold tea in the ratio of 30:70 is being accepted in the highest rate (7.58; p < 0.05). Concerning crispy pineapple products, crispy squid products made from pineapples as plant-based food were accepted by the consumers and have a higher score in color, odor, taste and texture than the old receipt (p ?0.05). Thus, the production innovation are transferred to the community entrepreneurs in the area and using available processing technology in the locality. In addition, this project aimed at enhance stability, and increase income opportunities. The research on the markets through design and development of brands, packages, and distribution channels found that 80 percents of the farmers accepted that the development of video clips about marketing to enable farmers to understand the meaning of demand and supply and marketing strategies could help promote a better understanding of marketing. Additionally, after the interview with the target groups, the research found that there are needs in redesigned of packaging of the products. Then value added was increased by means of package development. In addition, it is found that the current marketing channels was still limited, thus, the project fulfilled the needs of consumer behavior which has shifted to purchasing goods online through Line shopping and Metaverse. The majority of the farmers were highly satisfied with the maketing channels as it attracted considerable attention from consumers, so the farmers can be self-reliant as a result of earning more incomes through distribution of products.