ยะลาเมืองแห่งการเรียนรู้: กระบวนการสร้างสรรค์เมืองแบบมีส่วนร่วมบนความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 83 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F640111
นักวิจัย นายอภินันท์ ธรรมเสนา
หน่วยงาน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ยะลา

ชื่อโครงการ

ยะลาเมืองแห่งการเรียนรู้: กระบวนการสร้างสรรค์เมืองแบบมีส่วนร่วมบนความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม

คำสำคัญ

เมืองแห่งการเรียนรู้,สังคมแห่งการเรียนรู้,เศรษฐกิจฐานความรู้,ทุนทางวัฒนธรรม,ยะลา

บทคัดย่อ

ยะลาเมืองแห่งการเรียนรู้: กระบวนการสร้างสรรค์เมืองแบบมีส่วนร่วมบนความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม” เป็นชุดโครงการวิจัยที่วางแนวทางการพัฒนาเมืองยะลาให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) โดยมุ่งสร้างเครือข่ายสังคมและพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่เข้าถึงคนทุกกลุ่มในยะลาบนฐานแนวคิดสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (A Lifelong Learning Society) จากการการศึกษา พบว่า ยะลาเป็น “เมืองแห่งสุนทรียะ” ที่เกิดจากต้นทุนที่สำคัญของเมือง 3 ประการ ประกอบด้วย ทุนกายภาพ จากความหลากหลายทางชีวภาพและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ทุนทางวัฒนธรรม ทำให้ยะลามีอัตลักษณ์ของเมืองที่สามารถต่อยอดเป็นทุนในการขับเคลื่อนเมือง ทุนทางสังคม ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ และมีนโยบายการพัฒนาเมืองที่ชัดเจน ทั้งนี้ จากการถอดบทเรียน พบว่า มีกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลงระดับเมือง 3 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) กลยุทธ์สร้างกลไกสนับสนุนเชิงนโยบาย โดยมีเงื่อนไข 2 ประการ คือ การวิเคราะห์ศักยภาพและข้อจำกัดของฝ่ายนโยบาย สร้างรูปธรรมความสำเร็จและสังเคราะห์เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่นำไปปรับใช้ในเชิงปฏิบัติได้ทันที (2) กลยุทธ์พัฒนาฐานความรู้สร้างพลเมืองตื่นรู้ ภายใต้เงื่อนไขการสร้าง “พื้นที่เปิด” ให้พลเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมทั้งในระดับของการร่วมคิดและร่วมทำเพื่อสร้างสำนึกความเป็นเจ้าของ (sense of belonging) (3) กลยุทธ์สร้างเครือข่ายเชิงยุทธศาสตร์ โดย การสร้าง“ความไว้วางใจ” (Trust) ระหว่างภาคีองค์กรเครือข่าย สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายขับเคลื่อนยะลาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ สามารถสังเคราะห์เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายได้ 3 ข้อ ดังนี้ 1. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างกลไกความร่วมมือระดับเมือง เทศบาลนครยะลาต้องปรับบทบาทการทำงานจากผู้ริเริ่มโครงการและเป็นเจ้าของโครงการ เป็นผู้สร้างพื้นที่และสนับสนุนการทำงานของภาคีองค์กรเครือข่ายเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคีองค์กรเครือข่ายมีบทบาทมากขึ้น โดยสร้าง “พื้นที่เปิด” ให้พลเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างสำนึกความเป็นเจ้าของ (sense of belonging) 2. สนับสนุนการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ทั้งในเชิงกายภาพและเชิงกระบวนการ โดยปรับกระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้จากเดิมที่เน้น “สอน” หรือ “สั่งสอน” ไปสู่การ “จุดประกาย” ความสนใจใฝ่รู้ (Inspire) ให้ได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (learning by doing) โดยการเรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by Doing) 3. การสร้างฐานความรู้เพื่อการพัฒนาเมือง ต้องให้ความสำคัญกับความรู้ท้องถิ่น ในฐานะที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถต่อยอดสร้างมูลค่าให้กับการพัฒนาเมืองได้

Title

Yala learning city: Participatory urban development process based on biodiversity and cultural diversity

Keywords

Learning City,Learning Society,Knowledge Based Economy,Culture Capital,Yala

Abstract

Yala learning city: Participatory urban development process based on biodiversity and cultural diversity. It is a series of research projects that lay out guidelines for developing Yala City to be a Learning City by aiming to create a social network and learning area that is accessible to all groups of people in Yala based on the concept of Lifelong Learning Society. From the study, it was found that Yala is the “city of aesthetics” caused of three important costs of the city, consisting of physical capital from biodiversity and infrastructure that facilitates learning management. cultural capital giving rise to the identity of the city Can be extended to be capital in driving the city, social capital, visionary executives, and has a clear urban development policy According to the strategic analysis, it was found that there are 3 strategies to drive the learning city, namely: (1) strategy to create policy support mechanisms; There are two conditions: an analysis of the potential and limitations of the police department. Build concrete successes and synthesize them into policy proposals that can be immediately applied in practice. under construction conditions “Open space” for citizens to participate in both co-thinking and co-operation to create a sense of belonging (3) Strategic network building strategy by building “trust” between network organizations For the policy proposal to drive Yala to the city of learning can be synthesized into 3 policy proposals as follows 1. Promote and support the building of city-level cooperation mechanisms. Yala City Municipality must adjust its role as a space creator and support the work of alliances by creating an “open space” for citizens to participate to create a sense of belonging. 2. Support the creation of learning spaces both physically and procedurally. By adjusting the learning management paradigm from the original emphasis on “teaching” or “teaching” to “inspiring” by learning by doing 3. Creation of a knowledge base for urban development must pay attention to local knowledge as a cultural capital that can add value to urban development

สำหรับสมาชิกเท่านั้น