ชื่อโครงการ
การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดคำสำคัญ
คนจน,ความยากจน,กลไกลการพัฒนาบทคัดย่อ
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ภายใต้ความร่วมมือของ 14 ภาคีเครือข่าย โดยดำเนินการจัดเก็บข้อมูลครัวเรือนคนจนใน ๖ อำเภอเป้าหมาย ประกอบด้วย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทอง อำเภอปทุมรัตต์และอำเภอศรีสมเด็จ โดยใช้ฐานข้อมูล TPMAP (2562) จำนวน 4,074 ครัวเรือนหรือคิดเป็นร้อยละ 76.34 เป็นฐานและดำเนินการสอบทานกับข้อมูลของสำนักงานพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดและของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ซึ่งหลังจากมีการสอบทาน คณะผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลครัวเรือนคนยากจนทั้งสิ้น 5,075 ครัวเรือน ซึ่งมีจำนวนมากกว่าข้อมูล TPMAP ร้อยละ 24.57 จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลครัวเรือนคนจนในรูปแบบของทุนการดำรงชีพ พบว่า ภาพรวมของทั้งครัวเรือนคนจนใน ๖ อำเภอเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยของทุนที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานกลางคือ ทุนมนุษย์ (1.94) และทุนทางสังคม (2.17) ส่วนทุนทางเศรษฐกิจ (2.49) มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับมาตรฐานข้อมูลกลาง โดยทุนที่สูงกว่าค่ามาตรฐานกลางคือทุนธรรมชาติ (2.84) และทุนกายภาพ (2.87) ซึ่งคณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่และได้เลือกตำบลนำร่องเพื่อพัฒนาโมเดลแก้จน เกษตรพามี ผู้นำดีพาอยู่ คือ ตำบลดงครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย ซึ่งเป็นตำบลที่มีความโดดเด่นในด้านการมีกลุ่มวิสาหกิจปลูกผักปลอดภัยในบางหมู่บ้านและผู้นำชุมชนในทุกหมู่บ้านของตำบลดงครั่งน้อยได้รับรางวัลผู้นำในการเปลี่ยนแปลงดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2564 ในการพัฒนาโมเดลแก้จน เกษตรพามี ผู้นำดีพาอยู่ มีโมเดลแก้จนย่อย 4 โมเดล คือ ผักเพื่อชีวิต เมล็ดพันธุ์เกื้อกูล เกษตรทางเลือก โดย 3 โมเดลแรกนี้เป็น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product innovation) ส่วนผู้นำดีพาอยู่ เป็นนวัตกรรมกระบวนการ (Process innovation) คณะผู้วิจัยได้มีการลงพื้นที่สำรวจครัวเรือนเพิ่มเติมและจัดทำฐานข้อมูล Poverty profileและพัฒนา Property mapping ซึ่งมีข้อมูลด้านทักษะและความต้องการที่จะประกอบอาชีพของแต่ละครัวเรือนประกอบการพัฒนาโมเดล ในขณะเดียวกันคณะผู้วิจัย ก็ดำเนินการพัฒนาโมเดลย่อย ผู้นำดีพาอยู่ ควบคู่กันไป มีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เพิ่มในเรื่องการพัฒนาทักษะการให้คำปรึกษา การพาไปศึกษาดูงานระบบการทำงานของวิสาหกิจชุมชนในต่างอำเภอที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงการประชุมกลุ่มเพื่อระดมสมองหาแนวทางการแก้ไขปัญหาให้กับครัวเรือนคนจนและร่วมพัฒนาโมเดลแก้จน เกษตรพามี ผู้นำพาอยู่ ผลการดำเนินการวิจัย คณะนักวิจัยได้พบว่า โมเดลแก้จนที่มีการเลือกศักยภาพของตำบลนำร่องและหลังจากการวิเคราะห์ทุนฐานดำรงชีพใน 5 มิติและมีตัวชี้วัดที่เกิดจากการวิเคราะห์ผลตอบแทนทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยพัฒนาครัวเรือนยากจนให้เกิดตำบลต้นแบบ มีการถอดบทเรียนความสำเร็จและข้อจำกัดที่พบนำไปขยายผลยังตำบลอื่น ๆ ทั้งนี้มีปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยมีความร่วมมือของผู้นำทุกระดับและภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่ อันก่อให้เกิดระบบการเกื้อกูล สนับสนุนการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข โดยสาระสำคัญพี่พบจากการวิจัยในครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนายุทธศาสตร์ของจังหวัด พร้อมทั้งดำเนินการคืนข้อมูลที่สำรวจพบคืนให้ทางจังหวัดเพื่อเป็นข้อมูลพิจารณาในการดำเนินการต่อไป
Title
Research for area development Precision Poverty Alleviation: A case study of Roi et provinceKeywords
Poor person,Poverty,Development mechanismAbstract
Executive Summary Research for Area Development Precision Poverty Alleviation: A case study for Roi Et province, under cooperation of 14 network partners, collected poverty family data in 6 districts based on 2019 TPMAP database. The 6 districts, totaling 4,074 families or 76.34 % Roi Et province’s poverty family data, were: Muang Roi Et, Kaset Wisai, Suvarnnabhumi, Phon thong, Pathumrat, and Si Somdet accordingly. After examining data against Roi Et Community Development office, Roi Et Social Development and Human Security office, including Community Organization Development Institute (Public Organization), the research team had collected 5,075 poverty family data which was 24.57% higher than 2019 TPMAP’s data. The analysis of the target group according to Sustainable Livelihood concept revealed 6 district’s overall average comparing to the set standard: Human capital (1.94) and Social capital (2.17) were lower than the set standard, Financial capital (2.49) was almost the same with the set standard, while Natural resource capital (2.84) and Physical capital (2.87) were higher than the set standard. From the analysis, the researchers selected Dong Krang Noi, a sub-district of Kaset Wisai, as a pilot sub-distrcit to develop an Operating Model (OM) called “Kaset Pamee Punum dee Payu” (means Agriculture, and Good leaders enhances good living). Dong Krang Noi has several community enterprises including safe vegetables. Most importantly, 13 leaders in the area won 2021 first prize for Change Leaders national award from the ministry of Interior. These two factors of Dong Krang Noi helped the research team to develop the OM. Kaset Pa mee Punum dee Payu comprised of three product innovations (vegetables for life, supportive seeds, and alternative agricultures and one process innovation (Good leader enhances good living). Furthermore, the researchers developed “Poverty profile” and “Poverty mapping” of the target group while pursuing this research project to enhance the research analysis. In addition, “Coaching and mentoring” short curriculum was introduced to this research participated leaders of Dong Krang Noi including a site visit of successful sub-district, and several meetings with the research team in order to improve their leadership to coach poverty families. The research yielded that the Operating Model (OM) with Sustainable livelihood and Social Return on Investment analysis of the pilot sub-district was one of the successful methods to help improve poverty families. Successful OM can be amplified to other areas under cooperation of good leaders and active network partners. Finally, the research team had submitted a policy proposal in line with Roi Et province’s strategic planning and policy together with 5,075 poverty family records found to Roi Et governor for information, and consideration in order to take further action.