การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยทุนทางวัฒนธรรมพื้นที่ตอนล่าง จังหวัดสมุทรสาคร

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 54 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640062
นักวิจัย นายสันติ ไทยยืนวงษ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 สิงหาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน
สถานที่ทำวิจัย สมุทรสาคร

ชื่อโครงการ

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยทุนทางวัฒนธรรมพื้นที่ตอนล่าง จังหวัดสมุทรสาคร

คำสำคัญ

กลไกความร่วมมือ,ทุนทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาลักษณะทุนทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นในพื้นที่ตอนล่าง จังหวัดสมุทรสาคร เชื่อมโยงสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม และกลไกความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสู่การเป็นผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม (Cultural Entrepreneur) ที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มบนฐานทุนทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นและการส่งเสริมการแพร่กระจายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมด้วยกระบวนการเชิงสร้างสรรค์ด้วยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายที่นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ตอนล่าง จังหวัดสมุทรสาคร โดยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action Research ที่มุ่งเข้าไปมีส่วนร่วมและร่วมมือกับผู้แทนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายรามัญ (มอญ) และชาวไทยพื้นถิ่น ผลการวิจัย พบว่า 1) ความโดดเด่นของกลุ่มชาติพันธุ์ 3 กลุ่ม มีข้อค้นพบวัฒนธรรมร่วมระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าว ตามบริบทของพื้นที่และรูปแบบการดำเนินชีวิตที่อาศัยสายน้ำในการหล่อเลี้ยงชีวิตจากแม่น้ำท่าจีน สู่การกระจายไปยังคลองสาขาต่าง ๆ จึงเกิดเป็นอาชีพที่มีความเชื่อมโยงกับสายน้ำเค็มสายนี้ คณะผู้วิจัยจึงค้นพบจุดร่วมทางวัฒนธรรมของพื้นที่ตอนล่าง จังหวัดสมุทรสาครคือ “สาครบุรี วิถีคนน้ำเค็ม” 2) จากการเก็บรวบรวมข้อมูลแผนที่วัฒนธรรมมีการจัดแบ่งพื้นที่ตามกลุ่มชาติพันธุ์ 3 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 4 ชุด ได้แก่ แผนที่วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยเชื้อสายจีน แผนที่วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยเชื้อสายรามัญ (มอญ) แผนที่วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยพื้นถิ่น และแผนที่วัฒนธรรมสาครบุรี และจากการวิเคราะห์ความโดดเด่นของทรัพยากรทางวัฒนธรรมสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมแบ่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ 2 ผลิตภัณฑ์ 3) การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการแพร่กระจายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์จากกลไกลความร่วมมือ ของภาคีเครือข่าย โดยการวิจัยครั้งนี้พัฒนารูปแบบการแพร่กระจายผ่านพื้นที่วัฒนธรรม (Cultural space) กับกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 3 กลุ่ม ผ่านกิจกรรมการจัดงานประเพณีต่าง ๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่กำลังจะเลือนหายโดยการจัดกิจกรรมการจัดงาน (Event) ประกอบด้วย กิจกรรมการจัดงานลอยกระทงสะโพกจาก กิจกรรมการจัดงานประเพณีสงกรานต์มอญน้ำเค็ม การจัดงานเทศกาลอาหารพื้นถิ่น ด้วยเกลือสาครบุรี และการจัดงาน เล่งเกียฉู่ สืบสานตำนานมังกร และการออกแบบการส่งเสริมตลาดเชิงสร้างสรรค์ที่มีความเหมาะสมกับกิจกรรมการแพร่กระจายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมผ่านเทคโนโลยีความจริงเสมือน (Augmented Reality: AR) และ 4) การวัดผลกระมูลค่าทางเศรษฐกิจหลังจากการดำเนินโครงการวิจัยแล้วเสร็จ โดยแบ่งการประเมินออกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยเชื้อสายรามัญ (มอญ) กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยเชื้อสายจีน และกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยพื้นถิ่น โดยผ่านกระบวนการการออกแบบแผนที่ความคิด (My Maps) การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างแผนที่ผลลัพธ์ผลตอบแทนทางสังคม และการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยทุนทางวัฒนธรรมพื้นที่ตอนล่าง จังหวัดสมุทรสาคร พบว่าการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ (Sensitivity Analysis) ด้วยอัตราคิดลดร้อยละ 3.5 การคาดการณ์ระยะ 5 ปี SROI เท่ากับ 1:3.79

Title

The Basic Economy Driven with Cultural Capital in Samut Sakhon Province lower area

Keywords

Corporation Mechanism,Culture Capital

Abstract

This research The objective is to study the characteristics of outstanding cultural capital in the lower areas. Samut Sakhon Province links to upgrading cultural products and the cooperation mechanisms of network partners to become cultural entrepreneurs that create added value based on outstanding cultural capital and promote the spread of cultural products through collaborative creative processes of network partners leading to economic development in the lower areas Samut Sakhon Province it is an action research that aims to get involved and collaborate with representatives of Thai-Chinese ethnic, Thai-Raman ethnic (Mon) and Thai-local. The results of the research showed that 1) the distinctiveness of the three ethnic groups, there were findings of a common culture among the said ethnic groups. according to the context of the area and lifestyle that relies on water to nourish life from the Tha Chin River to spread to various branches of canals, thus resulting in a career that is linked to this saltwater line. The research team therefore discovered the cultural junction of the lower area. “Saltwater people lifestyle” 2) From the collection of cultural maps, the areas are divided according to 3 ethnic groups, totaling 4 sets, namely, cultural maps of Thai-Chinese ethnic, Thai-Raman (Mon) ethnic and Thai-Local ethnic and Sakornburi culture map and from the analysis of the predominance of cultural resources to the upgrading of cultural products, divided into 10 tangible products and 2 intangible products; Creative culture through cooperation mechanisms of network partners. This research develops a model of diffusion through cultural space with the three ethnic groups through the activities of organizing the events of the fading ethnic groups by organizing events. consisting of activities to organize the hip Loy Krathong from Mon Nam Khem Songkran Festival activities Organizing a local food festival With Sakorn Buri salt and the event Leng Kia Chu inherits the legend of the dragon. and designing a creative market promotion that is suitable for the dissemination of cultural products through augmented reality (AR) technology; and 4) Measuring the economic value after the completion of the research project. The assessment was divided according to the characteristics of the 3 target groups, namely ethnic Thai-Raman (Mon) ethnic, Thai-Chinese ethnic through the process of designing a mind map (My Maps), stakeholder analysis. Creating a social reward outcome map and assessment of the social return on investment (SROI), driving the underlying economy with cultural capital in the lower regions. Samut Sakhon Province It was found that the Sensitivity Analysis with a discount rate of 3.5 percent, the 5-year forecast SROI was 1: 3.79.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น