ชื่อโครงการ
การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมชุมชนผ่านกลไกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาสังคมเพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ : การขยายพื้นที่ดำเนินงานเพิ่มจำนวน 20 พื้นที่คำสำคัญ
ทุนทางวัฒนธรรมชุมชน,สินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรม,เศรษฐกิจวัฒนธรรม,ภูมิวัฒนธรรม,การกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน,การหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจชุมชนบทคัดย่อ
โครงการวิจัย “การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมชุมชนผ่านกลไกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ ประชาสังคม เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ : การขยายพื้นที่ดำเนินงานเพิ่มจำนวน 20 พื้นที่” (The Development of Community Cultural Capital using Local Government and Civil Society Mechanisms for Community Economic Potential and Development, phase 2 : The enhancement of 20 operation areas) เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ระหว่าง หน่วยงานของรัฐ ภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน ภาคประชาสังคม เครือข่ายศิลปิน ภาคเอกชน ชุมชนและสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาพื้นที่ทางวัฒนธรรม (Cultural Area–based Development) ให้เกิดการทำงานบูรณาการร่วมกับหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างและพัฒนาพื้นที่ทางวัฒนธรรม (Cultural Space) ส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม (Cultural Entrepreneur) และวิสาหกิจทางวัฒนธรรม (Cultural Enterprise) ในชุมชน แปลงทุนทางวัฒนธรรมสู่สินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน โดยเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากโครงการวิจัยการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมชุมชนผ่านกลไกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาสังคม เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ ที่ดำเนินงานแล้วจำนวน 18 พื้นที่ โดยจะขยายพื้นที่ดำเนินการเพิ่มเติมอีกจำนวน 20 พื้นที่ พื้นที่เดิมซึ่งดำเนินการมาแล้วในปีที่ผ่านมา จำนวน 18 พื้นที่ ประกอบด้วย (1) พื้นที่ทางวัฒนธรรมวิถีไทลื้อและการขับเคลื่อนประชาคมทางวัฒนธรรมผ่านกลไกของรัฐบาลกลางและท้องถิ่น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (2) การขับเคลื่อนพื้นที่พหุวัฒนธรรมด้วยประชาคมทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ (3) การพัฒนาพื้นที่ย่านเมืองเก่าด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน เพื่อการเปิดพื้นที่เศรษฐกิจวัฒนธรรมเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน (4) การพัฒนาเมืองด้วยวิถีพหุวัฒนธรรมชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดแม่ฮ่องสอน (5) การเปิดพื้นที่ศิลปะวัฒนธรรมการดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน เพื่อการฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสานและพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี (6) การพัฒนาพื้นที่วิถีชุมชนอาหารริมทางและการละเล่นพื้นบ้านด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชนเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี (7) พื้นที่วิถีพหุวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนเมือง อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (8) พื้นที่อนุรักษ์และพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวเกาะสีชังด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน จังหวัดชลบุรี (9) การฟื้นทุนทางวัฒนธรรมชุมชน เพื่อพัฒนาพื้นที่พหุวัฒนธรรมกุฎีจีน กรุงเทพมหานคร (10) พื้นที่ทางวัฒนธรรมการผลิตผ้าทอมือย้อมครามและสีธรรมชาติสู่สากล จังหวัดสกลนคร (11) การฟื้นทุนทางวัฒนธรรมชุมชนย่านเมืองเก่าเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (12) การพัฒนาพื้นที่ภูมิวัฒนธรรมด้วยทุนทางวัฒนธรรมเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี (13) การพัฒนาเมืองเก่าด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชนเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด (14) การฟื้นทุนทางวัฒนธรรมริมโขงเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการพัฒนาเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย (15) ชุมทางผลิตภัณฑ์สินค้าเชิงวัฒนธรรมภาคใต้ เพื่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจวัฒนธรรมเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช (16) การสร้างพื้นที่เศรษฐกิจทางวัฒนธรรมชุมชนเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการท่องเที่ยวเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต (17) พื้นที่พหุวัฒนธรรมกับการจัดการทุนทางวัฒนธรรมชุมชน เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองยะลา จังหวัดยะลา และ (18) การฟื้นทุนทางวัฒนธรรมการค้าชุมชนดั้งเดิม เพื่อการพัฒนาเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี สำหรับพื้นที่ใหม่ซึ่งจะดำเนินการเพิ่มจำนวน 20 พื้นที่ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาย่านเมืองเก่าด้วยผลิตภัณฑ์ครัวเรือน จากทุนทางวัฒนธรรมชุมชนเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (2) การขับเคลื่อนพื้นที่วัฒนธรรมด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ (3) การพัฒนาชุมชนเมืองด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย (4) การขับเคลื่อนพื้นที่พหุวัฒนธรรมด้วยประชาคมทางวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ (5) การพัฒนาย่านพหุวัฒนธรรมเมืองชากังราวด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร (6) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี (7) การขับเคลื่อนพื้นที่พหุวัฒนธรรมด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน โดยประชาคมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี (8) การพัฒนาย่านเมืองเก่าด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน โดยประชาสังคมทางวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดระยอง (9) การฟื้นทุนทางวัฒนธรรมชุมชน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจวัฒนธรรมบนพื้นที่ประวัติศาสตร์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี (10) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี (11) การพัฒนาพื้นที่ภูมิวัฒนธรรมด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชนเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ (12) การพัฒนาย่านพหุวัฒนธรรมด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชนเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร (13) การฟื้นฟทุนทางวัฒนธรรมชุมชน ด้วยผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ (14) การขับเคลื่อนพื้นที่พหุวัฒนธรรมด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชนเมือง เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดเลย (15) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ (16) การพัฒนาพื้นที่พหุวัฒนธรรมจากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชนเมืองกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง (17) การฟื้นฟูทุนทางวัฒนธรรมชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส (18) การฟื้นฟูเมืองด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชนโดยประชาคมทางวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง (19) การขับเคลื่อนการพัฒนาย่านวัฒนธรรมด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอละงู จังหวดัสตูล (20) การพัฒนาเมืองด้านศิลปวัฒนธรรมด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ กิจกรรมในโครงการ ประกอบด้วย (1) การจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรม (Cultural Mapping) ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อค้นหาทุนทางวัฒนธรรมชุมชน คนเก่ง ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการหนุนเสริมการสร้างผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมนั้นๆ (2) การสนับสนุนให้เกิดประชาคมทางวัฒนธรรมในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ (3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาคมวัฒนธรรมของพื้นที่ผ่านการจัดทำกิจกรรมเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ การกระตุ้นจิตสำนึกรักและหวงแหนวัฒนธรรมพื้นที่ การถอดบทเรียนและการจัดการความรู้ (4) การบูรณาการการทำงานของประชาคมวัฒนธรรมกับหน่วยงานรัฐในพื้นที่และภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน (5) การส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม (Cultural Entrepreneur) และวิสาหกิจทางวัฒนธรรม (Cultural Enterprise) ในชุมชน (6) การใช้แผนที่ทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมและวิสาหกิจทางวัฒนธรรม และ (7) การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ ผลกระทบของกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่อรายได้และการกระจายรายได้ของในพื้นที่ทั้ง 20 แห่ง