ชื่อโครงการ
การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนและโอทอป ปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการตลอดสายโซ่การผลิตด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่คำสำคัญ
ยกระดับการแข่งขัน,เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน,ปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการ,วิสาหกิจชุมชน,โอทอป,ห่วงโซ่คุณค่าใหม่บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัย เรื่อง “การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน/OTOP ปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการตลอดสายโซ่การผลิตด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่”นี้ มีวัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรวิสาหกิจชุมชน/OTOP ผู้เพาะเลี้ยงและผู้แปรรูปปลาสลิดบางบ่อ
- เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันวิสาหกิจชุมชน/OTOP ปลาสลิดบางบ่ออย่างมีส่วนร่วม
- เพื่อสร้างระบบและกลไกเครือข่ายความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจชุมชน/OTOP กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการ
- เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจวิสาหกิจชุมชน/OTOP ปลาสลิดบางบ่อ โดยมีเกษตรกรวิสาหกิจชุมชน/OTOP ปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการ เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 12 กลุ่ม สมาชิก146 ครัวเรือน ครอบคลุม 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางพลี
ผลการศึกษาวิจัย ทำให้ได้แนวทางการสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกรวิสาหกิจชุมชน/OTOP ผ่านระบบและกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการ และแนวทางสร้างความเข้มแข็งและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันวิสาหกิจชุมชน/OTOP ปลาสลิดบางบ่ออย่างมีส่วนร่วม รวมทั้งข้อเสนอเชิงนโยบายปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการอย่างมีส่วนร่วม สู่แผนจังหวัดสมุทรปราการและแผนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ตลอดจนแผนการใช้ประโยชน์ศูนย์เรียนรู้แปรรูปปลาสลิดภาคกลางตอนกลางอย่างมีส่วนร่วมให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ จากการประเมินความสำเร็จของโครงการโดยการประเมินผลทางเศรษฐกิจ (ROI) ของวิสาหกิจชุมชนทั้ง 12 กลุ่ม ทางด้านต้นน้ำ ได้แก่
- การลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต
- การพัฒนามาตรฐานการเพาะเลี้ยง ปลอดภัยมุ่งสู่การขอให้ตราสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ปลาสลิดบางบ่อ (GI)
- พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย จับคู่ธุรกิจการค้า (Matching) ด้านกลางน้ำ-ปลายน้ำ ได้แก่
1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
2) พัฒนาตราสินค้า บรรจุภัณฑ์
3) พัฒนาช่องทางการจำหน่ายทั้งตลาดออฟไลน์ Niche Market และตลาดออนไลน์
พบว่ามีรายได้เพิ่มมากขึ้น คิดเป็น ROI ร้อยละ 20-233 ขณะที่การประเมินความสำเร็จของโครงการ โดยการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ของวิสาหกิจชุมชน 7 กลุ่ม ด้วยตัวชี้วัดร่วมทางสังคม 5 ประเด็น ได้แก่
- ความเข้มแข็งของกลุ่ม
- ความสุขของครอบครัว
- การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
- การมีเครือข่าย
- การนำความรู้ ทักษะไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการตนเองและกลุ่มได้
พบว่า โครงการวิจัยต่างๆ มีมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ทั้งหมด (ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการและแปรค่าเป็นตัวเงิน) หารด้วยจำนวนมูลค่าปัจจุบันของการลงทุน (งบประมาณที่ใช้ดำเนินการ) ได้เป็นมูลค่าผลตอบแทนทางสังคมคิดเป็น SROI 0.32-0.92 บาท ต่อจำนวนเงินต่อการลงทุน 1 บาท นอกจากนั้นแล้วยังได้ข้อเรียนรู้ข้อค้นพบจากการงานวิจัย (Learning Platform) ที่เรียกว่า “G GAP KPS”
Title
Enhancing and increasing the competitiveness of the community/ OTOP enterprises of Gourami fish, Samut Prakan province throughout new value chain.Keywords
Enhancing competitive advantage,Increasing competitive advantage,gourami,commutity enterprise,OTOP,New value chainAbstract
This research aimed
- to increase incomes to members of Bang-bor gourami rearing and processing community enterprises (OTOP).
- to strengthen and increase competitiveness to the targeted community enterprises.
- to create systems and mechanisms of community enterprises corporative networks with state, private and academic offices.
- to propose policy recommendations on economic action plan of Bang-bor gourami community enterprises. Twelve Samutprakan gourami community enterprises, 146 households from Mauang; Bang-bor; and Bang-pli districts, participated in this research project. Research findings achieved all objectives.
The research assessment of economic return on investment (ROI) showed following results. For the beginning of the chain, gourami rearing farmers could
- decrease the cost and increase productivity
- achieve standardized rearing, being able to obtain the Bang-bor geographical indications (GI).
- create new distribution channels by business matching. For the middle and ended stages, gourami processers and distributors could
1) create new products.
2) develop trademarks and packaging.
3) create new offline, niche marketing, and online markets.
The increased income was ROI 20 – 233%. For the social return on investment (SROI) of seven community enterprises, five social indicators were assessed, including
- group strength.
- family happiness
- decreased environmental effect
- networking;
- application of knowledge and skills for groups and/or self-management and developing.
The result showed that all researches had total current benefit, in cash from research operations, divided by current investment value, operation budgets, equaled to SROI 0.32 – 0.92 baht per 1 baht of investment. Also, the research found the learning platform of G; GAP; and KPS.