ชื่อโครงการ
การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดสุรินทร์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำคำสำคัญ
ปัญหาความยากจน,จังหวัดสุรินทร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- สนับสนุนการจัดทำระบบข้อมูลความยากจนและติดตามการช่วยเหลือ
- ออกแบบกลไก กระบวนการวิจัยและเครื่องมือในการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการทำงาน ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาความยากจน
- ติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลคนจนและหนุนเสริมกลไกพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
- สังเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ระดับครัวเรือน การทำงานเชิงพื้นที่แก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดสุรินทร์เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายเชิงพื้นที่
โดยกระบวนการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสำรวจ บันทึกข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ครัวเรือนยากจนเป้าหมายทั้ง 17 อำเภอในจังหวัดสุรินทร์ จากฐานข้อมูล TPMAP และ Family Folder จำนวน 13,704 ครัวเรือน การสัมภาษณ์ การศึกษาฐานข้อมูลชุมชน (Village Profile) การสอบทานข้อมูล การสนทนากลุ่มย่อย การประชุมระดมสมอง การประชาคมหมู่บ้าน การถอดบทเรียน การคืนข้อมูล และการดำเนินโครงการนำร่อง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของกลไกภาคีเครือข่ายในการแก้ปัญหาความยากจน ผลการวิจัย พบว่า
1) การจัดทำระบบข้อมูลครัวเรือนยากจน “Surin Poverty Database” เกิดจากการสอบทานแบบมีส่วนร่วม สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างกลไกที่เกี่ยวข้อง โดยจังหวัดสุรินทร์มีครัวเรือนยากจน จำนวน 13,704 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 3.44 ของครัวเรือนทั้งหมด พื้นที่ที่มีสัดส่วนครัวเรือนยากจนมากที่สุด คือ อำเภอพนมดงรัก คิดเป็นร้อยละ 16.69 จำแนกระดับความยากจนออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอยู่ไม่ได้/พึ่งพา กลุ่มอยู่ยาก กลุ่มอยู่ได้ และกลุ่มอยู่ดี/ไม่จน ตามคุณลักษณะครัวเรือนยากจนที่แตกต่างกันของบริบทพื้นที่ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล
2) กลไกและระบบการส่งต่อข้อมูลช่วยเหลือคนจนที่เป็นรูปธรรม ดำเนินงานผ่านการประสานภาครัฐ ภาคประชาสังคม คณะสงฆ์ และภาคเอกชน เช่น โครงการบ้านธรรมรวมใจเพื่อผู้ยากไร้ที่อยู่อาศัย โครงการส่งต่อกายอุปกรณ์ให้กับผู้สูงอายุและผู้พิการ การบูรณาการและส่งต่อข้อมูลให้แก่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) เพื่อซ่อมแซมบ้านผู้ยากไร้ และส่งต่อข้อมูลให้แก่ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้พิการ
3) การแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่ด้วยโครงการนำร่องแก้จนทั้ง 2 พื้นที่ โมเดลแก้จนพื้นที่ชุมชนเมืองใช้วิธีการ 3 ขั้นตอน คือ การพร้อมรับ (Cope) กับปัญหาที่เกิดขึ้นในครัวเรือนการปรับตัว (Adapt) โดยพัฒนาวิถีความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพร้อมเติบโต (Transform) ด้วยการสร้างอาชีพเสริมใหม่ ๆ ส่วนโมเดลแก้จนพื้นที่ชุมชนชนบทมุ่งเน้นการวิเคราะห์แผนที่ชีวิตนำไปสู่การจัดการครัวเรือนเพื่อการพึ่งตนเอง ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่กับครัวเรือนต้นแบบ
4) สังเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ระดับครัวเรือน การทำงานเชิงพื้นที่แก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดสุรินทร์เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเชิงพื้นที่ โดยกระบวนการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การสำรวจ บันทึกข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ครัวเรือนยากจนเป้าหมายทั้ง 17 อำเภอในจังหวัดสุรินทร์ จากฐานข้อมูล TPMAP และ Family Folder จำนวน 13,704 ครัวเรือน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์ การศึกษา ฐานข้อมูลชุมชน (Village Profile) การสอบทานข้อมูล การสนทนากลุ่มย่อย การประชุมระดมสมอง การประชาคมหมู่บ้าน การถอดบทเรียน การคืนข้อมูล และดำเนินโครงการนำร่องร่วมกับกลไกภาคีเครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์
5) ข้อเสนอแนะ
(1) การสอบทานข้อมูลโดยใช้อาสาสมัครในชุมชนช่วยยืนยันข้อมูลคนจนที่เบ็ดเสร็จและแม่นยำ
(2) การบูรณาการเพื่อช่วยเหลือคนจนควรใช้ฐานข้อมูลชุดเดียวกัน
(3) มิติของการให้ความช่วยเหลือคนจนต้องไม่ใช่ “การสงเคราะห์” เฉพาะราย แต่ต้องเน้นย้ำเป้าหมายให้คนจน “ช่วยเหลือตัวเองได้” บนฐานทุนและศักยภาพของตนเอง และ
(4) รื้อถอนการใช้แนวปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาเดียวกันกับคนทุกกลุ่ม (One Size Fits All)
Title
Research for Surin Province Area Development to Precision Poverty AlleviationKeywords
Poverty,Surin ProvinceAbstract
The objectives of this research were.
- to support the establishment of a poverty information system and to monitor the aid provided,
- to design a mechanism, research processes and tools in area-based development to support work, aid and poverty alleviation,
- to follow up and analyze data on the poor and reinforce area-based development mechanisms to alleviate poverty.
- to synthesis of area data at the household level. Area-based work on poverty alleviation in Surin Province to make area-based policy recommendations was done by a research process that combines quantitative and qualitative processes.
Quantitative data collection method composed of survey, data record by questionnaire of target poor households in 17 districts in Surin province from TPMAP and Family Folder databases for 13,704 households. Qualitative data collection methods included interviews, community database studies (Village Profile), data review, small group discussion, brainstorming meeting, village community meeting, lesson-learned scrutinize workshop, data delivery, and carried out pilot projects with network partners to solve poverty problems in Surin province. It was found that.
1) The establishment of the “Surin Poverty Database” information system for poor households was based on participant review. It could be used as a common database between the relevant mechanisms. Surin province had 13,704 poor households, accounting for 3.44 percent of all households. The area with the highest proportion, at 16.69 %, of poor households was Phanom Dong Rak District. The poverty was classified into 4 groups according to the characteristics of poor households in different contexts, both in municipal and non-municipal areas, namely, barely-survive/dependent group, hard living group, livable group, and well-being/not-poor group.
2) Mechanisms and information transmission systems to assist the poor in concrete operated through government coordination, civil society, clergy and the private sector. There were such as the “Baan Tham Ruam Jai” project for the homeless, project to pass on orthosis and prosthesis to the elderly and disabled, integrating and forwarding information to Community Organization Development Institutions (Public Organization) (Por-Or-Chor) to repair the home of the poor and to forward the information to Community Health Center and Tambon Health Promoting Hospital to help the sick and disabled.
3) Addressing poverty at the local level with 2 pilot projects to address poverty in both areas. The urban poverty alleviation model used a 3-step approach: Cope with household problems, Adapt by develop the way of living of people in the community to lead to change and ready to grow (Transform) by creating new supplementary occupations. The model to alleviate poverty in the rural community focused on the analysis of life maps leading to household management for self-sufficiency through the exchange of knowledge between the villager sages and the model households.
4) Synthesis of area data at the household level by reviewing all five dimensions of poverty data, including health index; It was found that the poor over the age of 60 were bedridden patients accounted for 4.01%. The well-being index; It was found that the poor households had no land to cultivate, accounted for 45.67%. Education index; It was found that only 20.67% of the poor graduated higher than compulsory education. Income index; It was found that most of the poor, up to 85.17%, had an unstable income. It was found that 47.58% of the poor depended solely on state welfare. Between municipal areas (2.53) and non-municipal areas (2.64), the similarities in order from greatest to least were physical capital, social capital, financial capital, human capital and natural resource capital.
5) Recommendations.
(1) Community volunteer-based data review confirms comprehensive and accurate information on the poor.
(2) Integration to help the poor should use the same set of databases.
(3) The dimensions of assistance for poor people must not “help” for specific cases, but the goal must be emphasized for the poor to “help themselves”
(4) Dismantling the One Size Fits All problem-solving practices.