การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ในพื้นที่จังหวัดยโสธร

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 6 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630043
นักวิจัย ดร. ชัยวิวัฒน์ วงศ์สวัสดิ์
หน่วยงาน สถาบันวิทยาลัยชุมชน
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ยโสธร

ชื่อโครงการ

การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่จังหวัดยโสธร

คำสำคัญ

แก้ไขปัญหา ความยากจน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ในพื้นที่จังหวัดยโสธร ผู้วิจัย ชัยวิวัฒน์ วงศ์สวัสดิ์ วสันต์ สุวรรณ์เนตร มนตรี หิตายะ หน่วยงาน วิทยาลัยชุมชนยโสธร ปีที่ทำวิจัย 2563 ปัญหาความยากจนในสังคม เป็นภาวะความขาดแคลน ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการขาดโอกาสในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ภาวะความเจ็บป่วยและสุขภาวะที่ไม่ปกติ ในระดับบุคคล ระดับครัวเรือน ส่งผลให้เกิดความทุกข์ยากในการดำเนินชีวิต รวมถึงการขาดโอกาสที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตในหลาย ๆ ด้าน จากการศึกษาข้อมูลทุนทั้ง 5 ด้าน สามารถสรุปเป็นภาพรวมของจังหวัดยโสธร ได้ดังนี้ จังหวัดยโสธรมีทุนทางกายภาพค่าเฉลี่ยมากสุดที่ 3.59 รองลงมาทุนมนุษย์ค่าเฉลี่ยที่ 3.02 ,ทุนทางธรรมชาติ 2.90, ทุนทางสังคม 2.51 และ,ทุนด้านการเงินมีค่าเฉลี่ยน้อยสุดที่ 2.03 และโดยมีค่าเฉลี่ยของทุนทั้งหมดเท่ากับ 2.81 กลุ่มที่จะต้องได้รับการส่งต่อกรณีเร่งด่วน จำนวน 207 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีปัญหาด้านทุนมนุษย์ และทุนการเงิน ในระดับอยู่ไม่ได้ ซึ่งจะมีลักษณะหลากหลาย ตามอัตลักษณ์หรือสภาพปัญหาของบุคคล เช่น พิการ ป่วยติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และไม่มีผู้ดูแล เร่ร่อน มีอาการทางจิตประสาท ใช้หรือติดสารเสพติดติด ไม่มีทักษะทางอาชีพใด ๆ จนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ไม่มีรายชื่อในระบบทะเบียน (ตกหล่น) ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ ใด ๆ เป็นต้น สำหรับคนกลุ่มนี้ ผู้วิจัยได้ประสานงานกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งต่อข้อมูล ให้ได้รับการช่วยเหลือ การประสานงานทำในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งหน่วยงานที่เป็นภาคีในการส่งต่อความช่วยเหลือ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล อบต.) โรงพยาบาล สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กลุ่มที่จะเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหาหรือพัฒนา กลุ่มอยู่ยากและกลุ่มอยู่ได้ ในทุกด้าน ควรได้รับการจัดหาปัจจัยดำรงชีพ/หรือยกระดับความสามารถในการจัดหาปัจจัยดำรงชีพของตนเองให้พออยู่ได้ สร้างภูมิคุ้มกัน และยกระดับความเป็นอยู่ให้หลุดพ้นจากสภาวะความขาดแคลน/เปราะบาง ผู้วิจัยได้ประสานและได้รับการประสานจากหน่วยงานภาคีที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาหรือพัฒนา ดังนี้ เทศบาลตำบลสำราญ และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร ได้ประสานขอข้อมูลรายชื่อ ที่อยู่ของคนจนกลุ่มนี้ นำเข้าสู่แผนการพัฒนา โครงการและกิจกรรมของหน่วยงาน ในโอกาสต่อไป ในส่วนของวิทยาลัยชุมชนยโสธร ซึ่งผู้วิจัยและคณะปฏิบัติงานอยู่ ได้นำคนจนในกลุ่มนี้เข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหาหรือพัฒนาโดยการฝึกอาชีพ ในหลักสูตรพัฒนาอาชีพที่วิทยาลัยชุมชนยโสธร ได้จัดให้ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ได้ฝึกอบรมเป็นปกติ โดยได้นำกลุ่มคนจนที่เป็นสตรีวัยกลางคนถึงสูงวัยเข้ารับการอบรมพัฒนาอาชีพแปรรูปข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ หลักสูตรการทอเสื่อกก และการปลูกผักอินทรีย์ในโรงเรือน ซึ่งสามารถทำให้คนยากจนมีงานทำและมีรายได้จากการทำงาน

Title

Research on Area Development to Entirely and Accurately Solve Poverty Case Study of Yasothon

Keywords

solve,poverty

Abstract

สำหรับสมาชิกเท่านั้น