การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 16 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630041
นักวิจัย นายทรงศักดิ์ ปัญญา
หน่วยงาน สถาบันวิทยาลัยชุมชน
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย แม่ฮ่องสอน

ชื่อโครงการ

การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

คำสำคัญ

การวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่,การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี 2563 ระยะเวลาดำเนินงาน (15 เดือน) มีผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. การสนับสนุนการจัดทำระบบข้อมูลความยากจนและติดตามการช่วยเหลือในการแก้ปัญหาความยากจนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามกลุ่มเป้าหมายของการสำรวจข้อมูลคนจนโดยใช้ฐานข้อมูลจาก TPMAP และการเก็บข้อมูลแบบชี้เป้าโดยชุมชนเพื่อนำมาวิเคราะห์ทุนในการดำรงชีพทั้ง 5 ด้าน (sustainable livelihoods strategy) รวมทั้งหมดจำนวน 13,643 ครัวเรือน โดยทำการสอบทานกับเป้าหมายในระบบของ TPMAP จำนวน 10,129 ครัวเรือนจากจำนวนทั้งหมด 20,924 ครัวเรือน และได้ดำเนินการค้นหาเชิงรุกเพิ่มเติมจำนวน 3,514 ครัวเรือน มีจำนวนสมาชิกครัวเรือนทั้งหมด 52,271 คน (ข้อมูลวันที่ 1 สิงหาคม 2564) พบว่า ครัวเรือนยากจนของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีผลรวมเฉลี่ยระดับศักยภาพอยู่ที่ 2.18 เมื่อจำแนกศักยภาพทั้ง 5 มิติแล้วด้านทุนทางธรรมชาติมีศักยภาพสูงที่สุด ที่ 2.89 รองลงมาคือทุนทางกายภาพ อยู่ที่ระดับ 2.78 ทุนทรัพยากรมนุษย์ อยู่ที่ระดับ 1.82 ทุนทางสังคม อยู่ที่ระดับ 1.70 และทุนทางการเงินมีศักยภาพค่อนข้างน้อยอยู่ที่ระดับ 1.71 ตามลำดับ
  2. การออกแบบกลไก กระบวนการวิจัย และเครื่องมือในการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการทำงานช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
    2.1)กลไกระดับจังหวัดร่วมบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทำยุทธศาสตร์ กลยุทธ์แก้ไขปัญหาความยากจนโดยใช้ข้อมูลจากโครงการวิจัยฯ เป็นฐานสนับสนุนการทำงาน ทำให้คณะทำงานในระดับจังหวัดสามารถเริ่มวางแผนการทำงานได้แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องซึ่งมีบทบาทและภารกิจโดยตรงในการแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยได้ส่งต่อข้อมูลจำนวนกลุ่มคนจนที่จำเป็นต้องได้รับการส่งต่อและให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน จำแนกได้เป็น 2 ระดับดังนี้ คนจนระดับอยู่ลำบาก จำนวน 314 คนและคนจนในระดับอยู่ยาก จำนวน 44,812 คนให้ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน(ศจพ.มส) เพื่อสนับสนุนภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตามภารกิจให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน อาทิ ข้อมูลจำนวนผู้ที่มีบ้านพักอาศัยทรุดโทรม 3,552 ครัวเรือน ข้อมูลครัวเรือนผู้พิการและผู้สูงอายุ ให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อวางแผนให้การช่วยเหลือร่วมกับสถาบันองค์กรพัฒนาชุมชน (พอช.)
    2.2)กลไกระดับพื้นที่ได้พัฒนากระบวนการขับเคลื่อนโมเดลแก้จนในเชิงพื้นที่เป็นกระบวนการพัฒนาโจทย์ในการแก้จนจากการมีส่วนร่วมของพื้นที่และประชาชนเจ้าของปัญหา ในการเสนอปัญหาและความต้องการของตนเอง และการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนร่วมกับองค์กรภาคเครือข่ายที่ให้การสนับสนุน ร่วมกับการใช้แพลตฟอร์มแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พัฒนาห่วงโซ่คุณค่าและกระบวนการทดลองโมเดลแก้จนตำบลห้วยปูลิง การสร้างระบบเศรษฐกิจวนเกษตรบนพื้นที่สูงและการจัดตั้งกองทุนน้ำ และโมเดลบุกแก้จนตำบลแม่สวด เพื่อขับเคลื่อนตามศักยภาพต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นจุดแข็งของจังหวัดแม่ฮ่องสอนและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ส่งผลต่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจฐานราก และการช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model) ใน 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)โดยใช้ต้นทุนจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม
  3. การติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลคนจนและหนุนเสริมกลไกพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการศึกษาข้อมูลระดับคะแนนจำแนกตามต้นทุนการดำรงชีพที่ยั่งยืน (SLS) ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผลการสำรวจตามมิติต่าง ๆ จำนวน 5 ทุนคือ ทุนทรัพยากรมนุษย์ ทุนทางกายภาพ ทุนทางการเงิน ทุนทางธรรมชาติ และทุนทางสังคม จากข้อมูลสภาพปัญหาความยากจนดังกล่าวผู้วิจัยได้วิเคราะห์ภาวะความยากลำบากของครัวเรือนคนจน 4 กลุ่มคือ กลุ่มอยู่ลำบาก จำนวน 156 ครัวเรือน จำนวน 442 คน กลุ่มอยู่ยาก จำนวน 11,944 ครัวเรือน จำนวน 41,574 คน กลุ่มพออยู่ได้ จำนวน 1,557 ครัวเรือน จำนวน 5,832 คนและ กลุ่มอยู่ดี พบว่าไม่มีครัวเรือนที่จัดอยู่ในกลุ่มที่อยู่ดี
  4. การสังเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ระดับครัวเรือนและการทำงานเชิงพื้นที่แก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเชิงพื้นที่ ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังนี้
    4.1)รัฐควรสนับสนุนแนวนโยบายการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและปรับปรุงระเบียบ ข้อกฎหมายที่จำเป็นต่อบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและทรัพยากรทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สนับสนุนงบประมาณที่จำเป็นต่อครัวเรือนยากจนเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงทุนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาและยกระดับศักยภาพครัวเรือนยากจนรวมทั้งควรมีนโยบายสร้างการเติบโตของเมืองขนาดเล็กทางโครงสร้างการบริหารพื้นที่และระบบเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างจังหวัดขนาดใหญ่และจังหวัดขนาดเล็ก สามารถตรึงกำลังคนให้สามารถประกอบอาชีพที่หลากหลายอยู่ในพื้นที่เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองได้ 4.2.)ควรบูรณาการข้อมูลศักยภาพความยากจนรายครัวเรือนระหว่างหน่วยงาน งบประมาณและทรัพยากรระหว่างหน่วยงานในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและความต่อเนื่องของการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนอย่างยั่งยืน โดยใช้ครัวเรือนเป็นฐาน(Household-based Anti-poverty Intervention) โดยควรดำเนินการมาตรการต่อเนื่องอย่างน้อย 3-10 ปี
    4.3)รัฐควรมีแผนยุทธศาสตร์การฟื้นฟูศักยภาพครัวเรือนยากจนภายหลังสถานการณ์ไวรัสโคโรนา สร้างกันชนทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในชีวิต ให้กับครัวเรือนยากจน เช่น ระบบสวัสดิการชุมชนระบบสิทธิการเข้าถึงทรัพยากรเชิงซ้อน การพัฒนาศักยภาพคนรุ่นใหม่โดยใช้ศักยภาพทุนเดิมเพื่อแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่นในระยะยาวซึ่งเป็นการพัฒนากำลังคนตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 20 ปีและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งวสหประชาชาติ (SDGs) 4.4.)ควรระบบการบริหารจัดการพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมระหว่างรัฐและชุมชน ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
    4.5)ควรสนับสนุนทุนสำคัญในการดำรงชีพ ประกอบด้วยทุนมนุษย์ ทุนการเงิน ทุนกายภาพ ทุนธรรมชาติและทุนทางสังคมให้มีความแข็งแรง รวมทั้งการพัฒนาทุนด้านใหม่ๆขึ้นมารองรับการปรับตัวของครัวเรือนยากจนในสถานการณ์ยุคปัจจุบันที่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการทุนด้านต่างๆแบบสมัยใหม่และสร้างขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมแบบใหม่ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้

Title

Research on Area Based Development for Personalized Poverty Alleviation

Keywords

Area-Based Collaborative Research for Development,Personalized Poverty Alleviation

Abstract

A research project to develop an area for a comprehensive and accurate poverty alleviation. In the area of Mae Hong Son Province, year 2020, the period of operation (15 months) has research results according to the following objectives.

  1. Supporting the establishment of a poverty information system and monitoring assistance in solving poverty problems in Mae Hong Son Province. The target group of the poor population survey using TPMAP database and community-based targeted data were analyzed for the sustainable livelihoods strategy, totaling 13,643 households. We reviewed TPMAPs systemic targets of 10,129 out of 20,924 households and conducted a more aggressive search of 3,514 households with a total number of 52,271 households (as of August 1, 2021). It was found that poor households in Mae Hong Son Province had an average total potential of 2.18. After categorizing the five dimensions of potential, natural capital had the highest potential at 2.89, followed by physical capital at 2.78 and human resource capital at 2.78. 1.82 Social capital was at 1.70 and financial capital had relatively low potential at 1.71, respectively.
  2. Mechanism design research process and spatial development tools to support work to help solve poverty problems in Mae Hong Son Province
    2.1) Provincial level mechanisms to integrate the work of relevant agencies and formulate a strategy Strategies to alleviate poverty by using data from the research project as a support base for work This allows working groups at the provincial level to start planning work more accurately and quickly. Relevant government agencies that play a direct role and mission in solving the poverty problem of Mae Hong Son Province. Providing the Center for Poverty Eradication and Sustainable Development of People of All Ages According to the philosophy of Sufficiency Economy Mae Hong Son Province To support relevant sectors under the mission of urgent assistance, such as the number of people with 3,552 dilapidated homes, households with disabilities and the elderly. to the Office of Social Development and Human Security, Mae Hong Son Province To plan to provide assistance with institutions, community development organizations.
    2.2) Area-level mechanisms have developed a process to drive the model to solve spatial poverty. It is the process of developing problems in solving poverty from the participation of the area and the people who are the owners of the problem. in presenting their own problems and needs and participation in driving with the network organizations that support together with the use of a comprehensive and accurate poverty alleviation platform of the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. alue Chain Development and Model Experimental Process for Huai Pu Ling Subdistrict Creation of agroforestry economy system on highlands and establishment of water fund and the model of invasion to solve until Mae Suat Subdistrict To drive the potential cost of natural resources and biodiversity, which are the strengths of Mae Hong Son Province and in accordance with the development guidelines that affect the sustainability of the environment, society, economic foundations. and helping to drive holistic economic development (BCG Model) in 3 dimensions including bioeconomy, bio-economy systems Focus on using biological resources to create added value. By emphasizing the development of high-value products connected to the circular economy, taking into account the use of various materials as much as possible, and both of these economies are under the Green Economy by using the cost of biological and cultural diversity.
  3. Monitoring, analyzing data on the poor and supporting the spatial development mechanism for solving the poverty problem of Mae Hong Son Province. Results of a score-level study classified by sustainable cost of living in the area of Mae Hong Son Province There were survey results in 5 different dimensions: human resource capital, physical capital, financial capital. natural capital and social capital Based on the information on poverty problems, the researcher analyzed the hardships of four groups of poor households. Consisting of 156 households, 442 people, 11,944 households, 41,574 people, 1,557 families, 5,832 people and the well-being group, it was found that there were no households in the well-being group.
  4. Synthesis of area data at the household level and spatial work to solve poverty problems in Mae Hong Son Province in order to make spatial policy recommendations. The results of the study have policy recommendations as follows.
    4.1) States should support local decentralization policies and improve regulations. Legislation necessary for the political, economic, social and natural resource environment of Mae Hong Son Province for infrastructure development. Support the budget needed by poor households to support access to the resource capital needed to develop and enhance the capacity of poor households. In addition, there should be a policy to create the growth of small towns in terms of administrative structure and economic system to reduce the disparity between large provinces and small provinces. able to hold people to be able to do various occupations in the area to develop their own local community.
    4.2.) Should integrate information on household poverty potential among agencies. Inter-agency budget and resources in Mae Hong Son Province To promote the efficiency and continuity of solving the problem of inequality and poverty in a sustainable manner. Using the household-based Anti-poverty Intervention, the measures should be continued for at least 3-10 years.
    4.3) The state should have a strategic plan to restore the capacity of poor households after the coronavirus situation. Create an economic buffer and stability in life. to poor households, such as the community welfare system, the right to access complex resources Developing the capacity of young people using existing capital capacity to address long-term cross-generational poverty, which is the development of the workforce according to the 20-year National Development Strategy and the United Nations Sustainable Development Goals (SDGs).
    4.4) There should be a joint spatial development management system between the state and the community. to solve problems or develop local communities.
    4.5) Should support important capital for living It consists of human capital, financial capital, physical capital, natural capital and social capital to be strong. Including the development of new capital to support the adaptation of poor households in the current situation that requires modern capital management adjustments and building capacity for environmental natural resource management. new that can create economic value.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น