ชื่อโครงการ
การพัฒนาต้นแบบชุมชนนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการตนเองอย่างยั่งยืน และยกระดับเศรษฐกิจชุมชนฐานราก บนฐานทุนทรัพยากร ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว แพร่ แม่ฮ่องสอน หนองบัวลำภู สงขลา ตราด บุรีรัมย์ และยโสธรคำสำคัญ
นวัตกรรมชุมชน,การบริหารจัดการตนเองของชุมชน,การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยหลักเพื่อพัฒนาต้นแบบชุมชนนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการตนเองอย่างยั่งยืน และยกระดับเศรษฐกิจชุมชนฐานรากบนฐานทุนทรัพยากร ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว แพร่ แม่ฮ่องสอน หนองบัวลำภู สงขลา ตราด บุรีรัมย์ และยโสธร โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้
1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะนวัตกรชุมชน ที่มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการตนเองของชุมชน
2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมชุมชนด้านผลิตภัณฑ์ผ้าชุมชน และเกษตรปลอดภัยบนฐานทุนทรัพยากร
3) เพื่อถ่ายทอดนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ผ้าชุมชน และเกษตรปลอดภัย และเชื่อมโยงนวัตกรรมไปสู่แผนพัฒนาตำบล
4) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านรายได้ เศรษฐกิจฐานราก และคุณภาพชีวิต ของชุมชนเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว แพร่ แม่ฮ่องสอน หนองบัวลำภู สงขลา ตราด บุรีรัมย์ และยโสธร วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานวิธีพหุระยะ ที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะนวัตกรชุมชน ที่มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการตนเองของชุมชน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ตัวบ่งชี้สมรรถนะนวัตกรชุมชน ระดับชั้นของสมรรถนะ นวัตกรชุมชน และกระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะนวัตกรชุมชน
ระดับชั้นของสมรรถนะนวัตกรชุมชน ประกอบด้วย 5 ระดับ ได้แก่
- ระดับที่ 1 การศึกษาศักยภาพชุมชน คุณลักษณะคือนักประสานความร่วมมือ
- ระดับที่ 2 การพัฒนานวัตกรรม คุณลักษณะคือทำงานอย่างมุ่งมั่น
- ระดับที่ 3 การบริหารจัดการอาชีพจากนวัตกรรม คุณลักษณะคือนักจัดการโครงการ
- ระดับที่ 4 การถ่ายทอดองค์ความรู้ คุณลักษณะคือนักจัดการความรู้
- ระดับที่ 5 การจัดทำแผนเข้าสู่ภาครัฐ คุณลักษณะคือนักคิดเชิงกลยุทธ์
2. การพัฒนานวัตกรรมชุมชนด้านผลิตภัณฑ์ผ้าชุมชน และเกษตรปลอดภัยบนฐานทุนทรัพยากร ดำเนินการ 10 ชุมชน มีนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ จำนวน 35 นวัตกรรม นวัตกรรมกระบวนการ จำนวน 10 นวัตกรรม
3. การถ่ายทอดนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ผ้าชุมชน และเกษตรปลอดภัย และเชื่อมโยงนวัตกรรมไปสู่แผนพัฒนาตำบล โดยนวัตกรดำเนินการถ่ายทอดนวัตกรรม จำนวน 500 คน มีการประเมินจัดระดับชั้นของสมรรถนะนวัตกรชุมชน พบว่า สมรรถนะของนวัตกรชุมชนที่มีมากที่สุด ได้แก่
- ระดับที่ 1 การศึกษาศักยภาพชุมชน รองลงมา คือ
- ระดับที่ 2 การพัฒนานวัตกรรม และสมรรถนะของนวัตกรชุมชนที่มีน้อยที่สุด คือ
- ระดับที่ 3 การบริหารจัดการอาชีพจากนวัตกรรม การเชื่อมโยงนวัตกรรมไปสู่แผนพัฒนาตำบล
พบว่า ชุมชนทั้ง 10 ชุมชน มีการจัดกิจกรรมเวทีประชาคม การจัดประชุมกับกลุ่มอาชีพ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ ส่งผลให้ได้งบประมาณในการพัฒนาต่อยอดโครงการ ซึ่งจะมี 4 ชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนเข้าสู่แผนยุทธศาสตร์จังหวัด กระบวนการในการพัฒนาชุมชนเพื่อเป็นชุมชนนวัตกรรม ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่
1) สำรวจ
2) วางแผน
3) สร้าง
4) ต่อเติม
5) ตัดแต่ง
6) หนุนเสริม
7) เรียนรู้
4. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านรายได้ เศรษฐกิจฐานราก และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว แพร่ แม่ฮ่องสอน หนองบัวลำภู สงขลา ตราด บุรีรัมย์ และยโสธร พบว่า ด้านรายได้ เศรษฐกิจฐานราก โดยเฉลี่ยอัตราการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก และมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 ในส่วนด้านคุณภาพชีวิตตามแนวคิด “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” หลังเข้าร่วมโครงการ พบว่า คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านความหลากหลายทางระบบนิเวศและความยืดหยุ่นในการปรับตัว และด้านการใช้เวลาและสร้างสมดุล ทุกชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง
Title
Developing Role Model of Innovative Community to Enhance Community Capacity for Sustianable Self-Administration and to Alleviate Glassroots Economy ฺBased on Resource Capital: Case Studies of Sa Kaeo, Phrae, Maehongson, Nongbualamphu, Songkla, Trat, Buriram, and YasothonKeywords
Innovative Community,Community’s Self-Administration,Alleviate Glassroots EconomyAbstract
The main objective of this study was to develop an innovative community master to increase the capacity for sustainable self-management and upgrading the community economy based on resource capital in the provinces of Sa Kaeo, Phrae, Mae Hong Son, Nong Bua Lamphu, Songkhla, Trat, Buriram and Yasothon with specific objectives as follows:
1) to develop of community innovators capacity enhancing model with the ability to self-manage the community
2) to develop community innovations in community fabric products and safe agriculture on a resource-based capital
3) to transfer of innovations in community fabric products and safe agriculture and linking innovations to the sub-district development plan
4) to study the change in income, foundation economy and quality of life of the target communities in Sa Kaeo, Phrae, Mae Hong Son, Nong Bua Lamphu, Songkhla, Trat, Buriram and Yasothon provinces, research method with a multi – phase mixed method, that uses qualitative and quantitative data collection methods.
The results of the research appear as follows :
1. The community innovators capacity enhancing model with the ability to self-manage the community consists of 3 components: (1) indicators of community innovator capacity (2) levels of community innovator capacity (3) process of capacity enhancing community innovators.
The level of community innovator capacity consists of 5 levels:
- level 1 is community potential study, characteristics are collaborators
- level 2 is innovation development, characteristics are work hard
- level 3 is career management from innovation, characteristics are project manager
- level 4 is knowledge transfer, characteristics are knowledge manager
- level 5 is preparation of plans to enter the government sector, characteristics are strategic thinker.
2. Development of community innovation in community fabric products and safe agriculture on the basis of resource capital which operate 10 communities with 35 product innovations and 10 process innovations.
3. The transfer of innovation in community fabric products and safe agriculture and linking innovations to the sub-district development plan by innovators to transfer innovations, amounting to 500 people. The evaluation of the community innovators capacity level found that most community innovators capacity was
- level 1, community potential study, followed by
- level 2, innovation development and the least community innovators capacity was
- level 3, career management from Innovation.
Linking innovations to the sub-district development plan found that all 10 communities have community forum activities, organizing meetings with professional groups and community enterprise groups in the area. As a result, there will be a budget for further development of the project which will have 4 communities that can be driven into the provincial strategic plan. The process of community development to be an innovative community consists of 7 steps:
1) Survey
2) Plan
3) Create
4) Reinforcements
5) Customize
6) Enhance
7) Learn.
4. The study of changes in income, foundation economy and quality of life of the target communities in the provinces of Sa Kaeo, Phrae, Mae Hong Son, Nong Bua Lamphu, Songkhla, Trat, Buriram and Yasothon found that in terms of income, foundation economy on average, the growth rate of the fundamental economy and the value of community products increased by 10% in terms of quality of life according to the concept “Gross National Happiness” after participating in the project found that quality of life in health, education, ecological diversity and adaptation resilience, and the aspect of spending time and creating balance which every community has changed.