การพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อการจัดการและสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ชุมชนจังหวัดเพชรบุรี

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 35 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630004
นักวิจัย นายกุลยศ สุวันทโรจน์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 20: ชุมชนนวัตกรรม
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กรุงเทพมหานคร, เพชรบุรี

ชื่อโครงการ

การพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อการจัดการและสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ชุมชนจังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ

นวัตกรรมชุมชน,เศรษฐกิจฐานราก,เศรษฐกิจหมุนเวียน

บทคัดย่อ

ชุดโครงการวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อการจัดการและสร้างเศรษฐกิจฐานรากและ เศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ชุมชนจังหวัดเพชรบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมชุมชนและชุดความรู้ นำไปพัฒนาคนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยนวัตกรรมชุมชน รวมทั้ง การสร้างนักนวัตกรชาวบ้าน และนำนวัตกรรมเข้าสู่การทำแผนพัฒนาตำบล ถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมที่ สอดคล้องกับบริบทกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งหวังให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากใน ชุมชน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี นอกเหนือจากการดำเนินงานวิจัยแล้ว ยังต้องพัฒนากลไกการบริหารจัดการ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ให้มีความเข้มแข็งและสามารถสนับสนุนระบบการวิจัย นวัตกรรมเพื่อพัฒนาพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาเป็นหน่วยงานสำคัญ ทำหน้าที่เป็น ผู้จัดการงานวิจัย บริหารและจัดการงานภาพรวมให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยดำเนินงานวิจัยในพื้นที่เขตอำเภอ บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยต้องมีความร่วมมือกับหน่วยงานเชิงพื้นที่ระดับตำบล นับรวมได้ 10 หน่วยงาน ประกอบด้วย
1) องค์การบริหารส่วนตำบลบางครก
2) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหลม
3) องค์การ บริหารส่วนตำบลขุนไทร
4) องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูน
5) องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูนออก
6) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง
7) องค์การบริหารส่วนตำบลปากทะเล
8) องค์การบริหารส่วนตำบลบาง แก้ว
9) องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
10) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้งออก

ผลผลิตที่ ส่งออกจากชุดโครงการที่เกิดการการดำเนินงานของ 9 โครงการย่อย ประกอบด้วย นวัตกรรมรวมมากกว่า 15 นวัตกรรม
ประกอบด้วย
1) นวัตกรรมศูนย์การเรียนรู้ออนไลน์ (Innovations.rmutp.ac.th)
2) นวัตกรรมการ คัดแยกเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์ในการทำอาหารกุ้ง
3) นวัตกรรมสูตรพรีมิกในการทำอาหารกุ้ง
4) นวัตกรรมเครื่อง อัดรีดร้อนสำหรับการผลิตอาหารกุ้งขาว
5) นวัตกรรมเครื่องอัดเม็ดปุ๋ย
6) นวัตกรรมเครื่องปั้นเมล็ดปุ๋ยแบบ จานหมุน
7) นวัตกรรมเครื่องผสมแบบประหยัดพลังงาน
8) นวัตกรรมเครื่องคัดแยกส่วนผสมปุ๋ย
9) นวัตกรรม เตาเผาขยะ
10) นวัตกรรมเตาเผาถ่านจากขยะไม้
11) ทุ่นดักขยะพร้อมอุปกรณ์เสริมด้วยเทคโนโลยีที่ เหมาะสมสำหรับชุมชน
12) นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
13) นวัตกรรมบรรจุ ภัณฑ์ สำหรับอาหารทางทะเลแปรรูป
14) นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ สำหรับปุ๋ยอินทรีย์
15) นวัตกรรมรูปแบบ การตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล
16) นวัตกรรมโรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทางทะเลสำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือนบนพื้นที่ที่จำกัด
17) นวัตกรรมเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับแสงอินฟาเรด และนักนวัตกรที่ได้รับการพัฒนา นับรวมได้ 37 คน นักศึกษาร่วมโครงการ 27 คน นักวิจัยรุ่นใหม่ 5 คน คู่มือการเรียนรู้ 10 คู่มือ หลักสูตรการพัฒนานักน วัตกรได้รับการส้รางขึ้นมาและใช้พัฒนานักนวัตกรของชุดโครงการที่มีความหลากหลายแต่ยังอยู่ในกรอบของ บริบทเชิงพื้นที่ สำหรับ Learning and Innovation platform ได้สร้างขึ้นให้กับอำเภอบ้านแหลม เพื่อใช้เป็น ศูนย์การเรียนรู้ออนไลน์ให้กับนักนวัตกร และนักนวัตกใช้เป้นเครื่องมือในการถ่ายทอดในชุมชนต่อไป ชุด โครงการได้นำนวัตกรรมทั้งหมดเข้าสู่การทำแผนพัฒนาตำบลทั้ง 10 ตำบล โดยอาศัยความร่วมมือกับนายก องค์การบริหารส่วนตำบล และส่งมอบผลงานต่อไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี

โดยบางนวัตกรรมของ 5 โครงการได้ถูกนำไปใช้ในแผนพัฒนาตำบลแล้ว โดยทุกนวัตกรรมที่ส่งมอบให้กับพื้นที่ได้เข้าไปสร้างเศรษฐกิจ ฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ชุมชนจังหวัดเพชรบุรี ให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ในด้าน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้มีการจัดอบรมพัฒนาอาจารย์ นักวิจัยในชุดโครงการ และ เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนาให้มีความรู้ในหลายหลายมิติ อีกทั้งยังมีการสร้างกลไกการบริหารจัดการ งานวิจัยให้มีความเข้มแข็งและสามารถสนับสนุนระบบการวิจัยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ สูง เจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนาได้รับการพัฒนาและฝึกฝนให้เป็นนักจัดการงานวิจัย มีประสบการณ์ เพิ่มพูนมากขึ้น โดยทำงานร่วมกับนักวิจัย ลงพื้นที่ร่วมกัน รวบรวมและสกัดข้อมูลเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล ส่วนกลาง ทั้งนี้แม้ว่างานวิจัยจะเสร็จสิ้นแล้ว แต่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และทีมนักวิจัย ยังคงทำงานเชิงพื้นที่ต่อเนื่องในลักษณะการให้คำปรึกษา การถ่ายทอดความรู้ การบริการวิชาการให้กับชุมชน ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เพื่อขยายผลและผลักดันผลกระทบในวง กว้างต่อไป

Title

The development of community innovation for managing and creating a foundation and revolving economy in Phetchaburi community area

Keywords

Community innovation,Foundation economy,Revolving economy

Abstract

The research project series entitled “Developing community innovations for managing and building a foundation economy and a circular economy in community areas in Phetchaburi Province” aimed to create innovative communities and knowledge sets to develop people in the community to have a better quality of life and preserved the environment by applying community innovation, including the creation of local innovators, and introducing innovation into the district development plan, transfer knowledge and innovations that are appropriate to the target group context. The research intended to create a circular economy and upgrade the basic economy in the community, Ban Laem District, Phetchaburi Province. In addition to conducting research, the expanded work is dedicated to developing a mechanism for research management especially for Rajamangala University of Technology Phra Nakhon to be strong and able to support innovative research systems to help develop highly potential areas. The research program mentioned has been conducted by The Research and Development Institute, an important unit acting as a research manager with duties in managing and maintain the overall research works until achieving the objective goals. By conducting research in the area of Ban Laem District Phetchaburi Province, the collaboration with the area-based agencies was done at the subdistrict level, totaling 10 units, consisting of
1) Bang Khrok Subdistrict Administrative Organization
2) Ban Laem Subdistrict Administrative Organization
3) Khun Sai Subdistrict Administrative Organization
4) Bang Tabun Subdistrict Administrative Organization
5) Bang Tabun Subdistrict Administrative Organization
6) Tha Raeng Subdistrict Administrative Organization
7) Pak Thale Subdistrict Administrative Organization
8) Bang Kaeo Subdistrict Administrative Organization
9) Laem Phak Bia Subdistrict Administrative Organization and
10) Tha Raeng-Ok Subdistrict Administrative Organization.

The output from the research series created 9 sub-projects which was comprised of more than 15 innovations including:
1) Innovation of online learning center (Innovations.rmutp.ac.th)
2) Innovation of pure culture of microorganism for shrimp feed
3) Innovation of premix formula in shrimp feed
4) Innovation of a hot extruder for white shrimp feed production
5) Innovation of a fertilizer pellet machine
6) Innovation of a rotary disk molding machine for fertilizer seed
7) Innovation of energy-saving mixer
8) Innovation of a fertilizer mixture sorting machine
9) Innovation of waste incinerator
10) Innovation of an incinerator for wood wastes
11) A waste trap with accessories with appropriate technology for community
12) Packaging innovation 7 for economic aquaculture feed
13) Packaging Innovation for processed seafood
14) innovation of packaging for organic fertilizer
15) Innovation of participatory marketing model for economic aquaculture feed and marine food processing products
16) Innovation of drying greenhouses and marine processed products for the household industry on a limited space
17) Innovation of a solar and infrared light- drying machine. The research could create a total of 37 innovators composed of 5 young researchers and 27 students who are participated in the project.

Additionally, it produced 10 learning manuals, developing innovators courses that has been used to develop innovators from diverse project series but still within the framework of a spatial context. The Learning and Innovation platform was created for Ban Laem District to serve as an online learning center for innovators. The innovators have used it as a tool to broadcast in the community. The project series brought all innovations into the development plan for all 10 sub-districts through a cooperation with the president of the sub-district administrative organization. Their outputs were next delivered to the Governor of Phetchaburi Province. Some of the innovations of the project have already been used in the sub-district development plan. Every innovation delivered to the area has been taken into a foundation economy and a circular economy in the Phetchaburi community area to increase income by more than 10%. At Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, training programs have been set to develop teachers, researchers in the project, and staffs of the Research and Development Institute. These people have gained knowledges in many dimensions. In addition, a mechanism for research management was applied to strengthen and support innovative research systems for highefficient area-based development. Research and development institute staffs were developed and trained as research managers, and gained more experience by working with researchers, participated working on-site, collecting and extracting data, and storing it in a centralized database. Even though the research was completed, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon and the research team have continued to work on-site in a consultative manner, transfer knowledge, and perform academic services to the community through the Sub-District Administrative Organization in Ban Laem District Phetchaburi Province. The outcomes were thus expanded and impacts of the research were also driven on a broader scale.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น